เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏ
ดูก่อนภิกษุ เราตถาคตจะยกอุปมาให้เธอฟัง สมมติว่า มีภูเขาศิลาลูกใหญ่ยาว ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ มีบุรุษผู้หนึ่งนำเอาผ้าขาวบางมาจากแคว้นกาสี แล้วเอาผ้านั้นลูบภูเขา ๑๐๐ ปีต่อครั้งหนึ่ง การที่ภูเขาศิลาใหญ่แท่งนั้นจะถึงความสิ้นไป เพราะความพยายามของบุรุษนั้น ยังเร็วกว่าระยะเวลาหนึ่งกัป ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอท่องเที่ยวไปมาอยู่ในวัฏสงสาร มิใช่ ๑ กัป มิใช่ ๑,๐๐๐ กัป มิใช่ ๑๐๐,๐๐๐ กัป เป็นเพราะว่า วัฏสงสารนี้กำหนดที่สุดและเบื้องต้นมิได้
ธรรมะเพื่อประชาชนพระอริยเจ้า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้หมู่สัตว์ถูกธรรมนั้นหุ้มห่อ แล้วท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน เหมือนหมู่สัตว์ผู้ถูกโมหะหุ้มห่อแล้ว ไม่มีเลย ส่วนพระอริยสาวกเหล่าใด ละโมหะแล้ว ทำลายกองแห่งความมืดได้แล้ว พระอริยสาวกเหล่านั้นย่อมไม่ท่องเที่ยวไปอีก เพราะอวิชชาอันเป็นต้นเหตุแห่งสงสาร ย่อมไม่มีแก่พระอริยสาวกเหล่านั้น
ธรรมะเพื่อประชาชนเวสารัชชธรรม ๔
พระพิชิตมารผู้ถึงที่สุดโลก ทรงทำโลกทั้งหลายให้ยินดีด้วยพระรัศมี พระองค์ยังดอกปทุม คือ เวไนยสัตว์ให้บานด้วยพระดำรัส ทรงสมบูรณ์ด้วยเวสารัชชธรรม ๔ เป็นอุดมบุรุษ ละความกลัวและความยินดีได้เด็ดขาด ทรงถึงธรรมอันเกษม องอาจกล้าหาญ พระผู้เลิศในโลก ทรงปฏิญาณซึ่งฐานะของผู้องอาจและพุทธภูมิทั้งสิ้น ไม่มีใครจะทักท้วงได้ในฐานะไหนๆ
ธรรมะเพื่อประชาชนโพชฌงค์ ๗ ทางสำเร็จสู่นิพพาน
โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติ ให้บริบูรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธะ น้อมไปในจาคะคือการสละ เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์..เจริญวิริยสัมโพชฌงค์...เจริญปีติสัมโพชฌงค์.เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์...เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์..เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธะน้อมไปในจาคะ โพชฌงค์ ๗ นี้อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้
ธรรมะเพื่อประชาชนผู้มีราตรีเดียวเจริญ
พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจะมีในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่ ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นว่าผู้มีราตรีเดียวเจริญ
ธรรมะเพื่อประชาชนอิทธิบาทสี่ ชี้ทางสู่นิพพาน
ขอท่านจงตื่นขึ้นเถิด อย่าให้มัจจุราชผู้เป็นพวกพ้องของคนประมาท ชนะท่านผู้เกียจคร้านด้วยอุบายอันโกงเลย กำลังคลื่นแห่งมหาสมุทร ย่อมครอบงำบุรุษผู้ไม่อาจข้ามมหาสมุทรนั้นได้ แม้ฉันใด ชาติและชรา ย่อมครอบงำท่าน ผู้ถูกความเกียจคร้านครอบงำแล้ว ฉันนั้น ขอท่านจงทำเกาะ คืออรหัตผลแก่ตนเถิด เพราะที่พึ่งอย่างอื่นในโลกนี้และโลกหน้า ย่อมไม่มีแก่ท่าน
ธรรมะเพื่อประชาชนวิสาขามหาอุบาสิกา (สุเมธายอดนารี)
ดิฉันเข้าอยู่ประจำอุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดดิถีที่ ๑๔, ๑๕ และดิถีที่ ๘ แห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ ดิฉันสำรวมแล้วในศีลทุกเมื่อ ข้าแต่พระฤๅษี ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอบุตรจงเกิดเถิด เมื่อดิฉันกล่าวคำเท็จ ขอศีรษะของดิฉัน จงแตกเป็น ๗ เสี่ยง
ธรรมะเพื่อประชาชนวิสาขามหาอุบาสิกา (พรอันประเสริฐ)
สตรีใดให้ข้าวและน้ำ มีใจเบิกบานแล้ว สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นสาวิกาของพระสุคต ครอบงำความตระหนี่แล้ว บริจาคทาน อันเป็นเหตุแห่งสวรรค์ เป็นเครื่องบรรเทาความโศก นำมาซึ่งความสุข สตรีนั้น อาศัยมรรคปฏิบัติ ปราศจากธุลี ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ย่อมได้กำลัง และอายุทิพย์ สตรีผู้ประสงค์บุญนั้น เป็นคนมีสุข สมบูรณ์ด้วยพลานามัย ย่อมปลื้มใจในสวรรค์สิ้นกาลนาน
ธรรมะเพื่อประชาชนพระโปฐิลเถระ
การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี จบพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วทรงไว้ กล่าวบอกพุทธวจนะนั้น ชื่อว่า การศึกษาคันถธุระ ส่วนการเริ่มตั้งความสิ้นไป และความเสื่อมไปในอัตภาพ เจริญวิปัสสนาด้วยอำนาจความเพียรพยายามแล้ว บรรลุพระอรหัต ชื่อว่า วิปัสสนาธุระ
ธรรมะเพื่อประชาชนละความโกรธกันเถิด
ความโกรธย่อมเกิดขึ้นแก่คนพาล ผู้โฉดเขลาไม่รู้จริง เพราะความแข่งดี แม้เขาก็ถูกความโกรธนั้นเผาลนใจให้เร่าร้อน ความโกรธเจริญขึ้นแก่ผู้ใด ก็เป็นดุจไฟเจริญขึ้นในกองหญ้าและไม้ ยศของบุคคลนั้นย่อมเสื่อมไป เหมือนพระจันทร์ข้างแรมฉะนั้น ส่วนความโกรธของผู้ใดสงบลงได้ ประดุจไฟที่ไม่มีเชื้อ ยศของผู้นั้นย่อมเต็มเปี่ยม เหมือนพระจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้น
ธรรมะเพื่อประชาชน