เป้าหมายสูงสุดของชีวิต
ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรงจำ เรากล่าวว่า เป็นบัณฑิต เพราะการยึดได้ซึ่งประโยชน์ในทิฏฐธรรม และประโยชน์ในสัมปรายภพ
สัญญาเวทยิตนิโรธ
อนุปุพพวิหาร คือธรรมเป็นเครื่องอยู่ตามลำดับ ๙ ประการ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และสัญญาเวทยิตนิโรธ นี้คืออนุปุพพวิหาร ๙ ประการนี้
พระพุทธคุณ ตอน ผู้รู้แจ้งด้วยตนเอง
เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง รู้ธรรมทั้งปวง อันตัณหา และทิฏฐิไม่ฉาบทาแล้ว ในธรรมทั้งปวง ละธรรมเป็นไปในภูมิสามได้หมด พ้นแล้วเพราะ ความสิ้นไปแห่งตัณหา เราตรัสรู้ยิ่งเองแล้ว จะพึง อ้างใครเล่า อาจารย์ของเราไม่มี คนเช่นเรา ก็ไม่มี บุคคลเสมอเหมือนเราก็ไม่มี ในโลกกับ ทั้งเทวโลก เพราะเราเป็นพระอรหันต์ในโลก
อานิสงส์บูชาเจดีย์ด้วยดอกบัว ๘ กำ
การสะสมทรัพย์เป็นเพียงปัจจัยเกื้อหนุนให้เรามีความสุขในภพชาตินี้ แต่การสั่งสมบุญจะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เรามีความสุขไปทุกภพทุกชาติ ยิ่งถ้าหากทำบุญถูกเนื้อนาบุญ บุญนั้นก็เป็นบุญใหญ่ ได้ผลเกินควรเกินคาด
พระอรหันต์รู้ได้ยาก
พระอริยบุคคลเหล่าใดในศาสนาของพระโคดม เป็นผู้ประกอบดีแล้ว ด้วยกิริยาทางกายและวาจาอันบริสุทธิ์ มีใจมั่นคง เป็นผู้ไม่มีความห่วงใยในกายและชีวิต พระอริยบุคคลเหล่านั้น บรรลุอรหัตผลที่ควรบรรลุ หยั่งลงสู่อมตนิพพาน ดับกิเลสได้ เสวยผลแห่งความดับเย็นอยู่
พระอรหันต์มีจริง
พระอริยบุคคลเหล่าใด ในศาสนาของพระพุทธเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว มีใจมั่นคง ไม่หวั่นไหว ปราศจากความอาลัยทั้งปวง พระอริยบุคคลเหล่านั้น บรรลุพระอรหันต์แล้ว เข้าถึงพระนิพพาน เสวยสุขอยู่ รัตนะนี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระอริยสงฆ์ ด้วยสัจจะวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทั้งหลาย
คนดีที่โลกต้องการ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นบัณฑิต ฉลาด เป็นสัตบุรุษ ครองตนอันไม่ขาดจากแก่นสาร ไม่ถูกประหารจากคุณธรรม เป็นผู้ไม่มีโทษ ผู้รู้ไม่ติเตียน และได้บุญมากด้วยธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นบัณฑิต
กุสโลบายในการเข้าถึงพระรัตนตรัย
ชนเหล่าใดเที่ยวจาริกไปยังเจดีย์ มีจิตเลื่อมใสในพระตถาคต ครั้นทำกาละแล้ว ชนเหล่านั้นทั้งหมด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ธรรมกาย กายมาตรฐาน
สรีรยนต์นี้ ถูกกรรมปรุงแต่งทำให้เป็นนครแห่งกระดูกทั้งหลาย ฉาบด้วยเนื้อและโลหิต เป็นที่ตั้งลงแห่งชรา มรณะ มานะ และมักขะ
ผู้มีราตรีเดียวเจริญ
พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจะมีในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่ ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นว่าผู้มีราตรีเดียวเจริญ