ศูนย์ปฏิบัติธรรมและอบรมเยาวชนพระนครศรีอยุธยา เทศน์สอนธรรมะแก่นักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดกำแพง
คณะสงฆ์จากศูนย์ปฏิบัติธรรมและอบรมเยาวชนพระนครศรีอยุธยา ได้เมตตาเทศน์สอนธรรมะแก่น้องๆ นักเรียน โรงเรียนชุมชนวัดกำแพง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในหัวข้อธรรมะเรื่อง กุศลกรรมบถ 10 ประการ
วันมาฆบูชา 2567 ประวัติความสำคัญ กิจกรรมวันมาฆบูชา
วันมาฆบูชา ปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2567 วันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เพราะมีเหตุการณ์พิเศษที่มาบรรจบกัน 4 ประการ หรือที่เรารู้จักกันดีว่า "จาตุรงคสันนิบาต"
กฎหมายกับกฎแห่งกรรม
กฎหมายกับกฎแห่งกรรมแตกต่างกันอย่างไร? ผู้คนส่วนใหญ่เกรงกลัวกฎหมายหรือกฎแห่งกรรมมากกว่ากัน? กฎแห่งกรรมมีการลดโทษให้คนที่ทำบาปบ้างไหม?
วิบากกรรมจะเบาบางลงได้อย่างไร
ชีวิตที่ท่องเที่ยวไปในวัฎสงสาร ไม่มีใครที่ไม่เคยทำบาปอกุศล แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งเป็นพระบรมโพธิสัตว์ ก็ผิดพลาดทำบาปอกุศล ต้องพลัดไปในอบายภูมิ ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน มีปรากฎในชาดกหลายพระชาติ
กุศลกรรมบถ 10 ประการ
โลกเปลี่ยนไปเพราะใจมนุษย์แปรปรวนท่านสาธุชนทั้งหลาย โลกมนุษย์นี้เป็นชุมทางของการสั่งสมบุญและบาป ส่วนภพภูมิต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสุคติหรือทุคติ เป็นเพียงผลที่มารองรับการกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้นเป็นผลที่เกิดจากความสะอาดและไม่สะอาดทางกาย วาจา ใจ โลกจะฟูขึ้นหรือยุบลง เจริญขึ้นหรือเสื่อมลง วัฒนะหรือหายนะ ก็เพราะการประพฤติกุศลกรรมบถ 10 ประการนี้
กำเนิดอบายภูมิ
อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ เป็นความไม่สะอาดด้วย เป็นตัวการที่ทำให้ไม่สะอาดด้วย ดูก่อนจุนทะ ก็เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ นรกจึงปรากฏ กำเนิดเดียรัจฉานจึงปรากฏ เปตวิสัยจึงปรากฏ หรือว่าทุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่นจึงปรากฏมีขึ้น
สัตถันตรกัป ๗ วัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นแม้กำลังสักอย่างหนึ่ง อันข่มได้แสนยาก เหมือนกำลังของมารเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญจะเจริญขึ้นได้ เพราะเหตุที่ถือมั่นในกุศลธรรมทั้งหลาย
กฏหมายกับกฏแห่งกรรมคุณกลัวอะไรมากกว่ากัน
กฎหมายกับกฎแห่งกรรมมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร คนส่วนใหญ่จะเกรงกลัวกฎหมายหรือกฎแห่งกรรมมากกว่ากัน กฎหมายมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ แล้วกฎแห่งกรรมนั้นเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้หรือไม่
ปฏิปทาของผู้ไปเกิดเป็นเปรต
ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมรู้จักซึ่งเปตวิสัย ทางไปสู่เปตวิสัย และปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงเปตวิสัย อนึ่ง สัตว์ผู้ดำเนินประการใด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงเปตวิสัย เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย
ทำไมตายแล้วไปเป็นเปรต
เปตติวิสยภูมินั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเปรียบเทียบไว้ว่า เหมือนกับต้นไม้ในพื้นที่อันไม่เสมอ มีใบอ่อนและใบแก่ โปร่งเบา มีร่มเงาอันโปร่ง เป็นสถานที่ที่ไม่น่ารื่นรมย์ เพราะแห้งแล้งเต็มไปด้วยความทรมาน เมื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งประพฤติอกุศลกรรมนำชีวิตของตนไปในทางอกุศลกรรม ผู้นั้นชื่อว่านำตนไปสู่ปฏิปทาทางไปสู่ต้นไม้อันหาความสุขสบายมิได้ คือ เปตติวิสยภูมินั้นอย่างแน่นอน