กาลกัญชิกาอสูร
บุคคลผู้เป็นคนพาลมีปัญญาทราม ย่อมประพฤติตนเป็นศัตรูต่อตนเอง ย่อมทำกรรมอันลามกที่ทำให้เดือดร้อนในภายหลัง เขาย่อมมีน้ำตานองหน้าร้องไห้คร่ำครวญอยู่ และต้องเสวยผล แห่งวิบากกรรมอันเผ็ดร้อนด้วยความทุกข์ทรมาน ส่วนบุคคลทำกรรมใดแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง มีใจแช่มชื่นเบิกบาน ได้เสวยผลแห่งวิบากกรรมที่ดีนั้น ที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนและผู้อื่น ควรรีบลงมือกระทำกรรมนั้น
กรรมของการลบหลู่พระพุทธเจ้า
สรรพชีวิตต้องตาย เพราะความตายเป็นที่สุดของชีวิต เมื่อตายแล้วสัตว์ทั้งหลายจักไปตามกรรม ไปเสวยผลแห่งบุญ และบาปที่ตนได้กระทำไว้ ผู้มีกรรมเป็นบาปจะไปสู่นรก ส่วนผู้มีกรรมเป็นบุญจะไปสู่สุคติ เพราะฉะนั้น บุคคลพึงทำแต่กรรมดีงาม อันจะนำไปสู่สุคติในสัมปรายภพ บุญทั้งหลายที่ได้ทำสั่งสมไว้ ย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในปรโลก
กรรมเก่าเฝ้าติดตาม
บุคคลทำกรรมใดแล้ว ไม่ร้อนใจในภายหลัง มีปีติและโสมนัส เสวยวิบากของกรรมใด กรรมนั้นแลที่บุคคลทำแล้วเป็นความดี
เปรตงูยักษ์และเปรตกาดำ
จริงอยู่ บาปกรรมที่บุคคลทำแล้วย่อมไม่สูญหายไป เหมือนน้ำนม ที่รีดในขณะนั้นคงไม่แปรไป แต่บาปกรรมนั้นจะต้องติดตามเผาคนพาล เหมือนไฟที่ถูกเถ้าปกปิดเอาไว้
กรรมของผู้ไม่เชื่อเรื่องบุญเรื่องบาป
บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง เป็นผู้มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา ร้องไห้เสวยผลของกรรมใดอยู่ กรรมนั้นอันบุคคลกระทำแล้วไม่ดีเลย
กรรมของคนผิดคำสาบาน
บุคคลผู้ทำบาปย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ย่อมเศร้าโศกในโลกหน้า ย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง บุคคลผู้ทำบาปนั้นย่อมเศร้าโศก ครั้นละโลกไปแล้ว เห็นกรรมที่เศร้าหมองของตนย่อมเดือดร้อน
โทษของผู้รังแกสมณะ
ความจริง บาปที่ตนทำแล้ว อันเกิดจากตน ที่มีตนเป็นแดนเกิด ย่อมย่ำยีบุคคล ผู้มีปัญญาทราม เหมือนเพชรย่ำยีแก้วมณีที่เกิดแต่หิน ฉะนั้น
กรรมของการคดโกงลูกค้า
บุคคลพึงกล่าวแต่วาจาที่ไม่เป็นเหตุยังตนให้เดือดร้อนและไม่เป็นเหตุเบียดเบียนผู้อื่น วาจานั้นแลเป็นสุภาษิต บุคคลพึงกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รัก ที่ชนทั้งหลายชื่นชมแล้ว ไม่ถือเอาคำที่ชั่วช้าทั้งหลาย พึงกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รักแก่ชนเหล่าอื่น
โทษของการล่าสัตว์
ความสุขในโลกนี้และในปรโลก ย่อมไม่มีแก่เหล่าชนผู้ไม่ทำบุญ ความสุขในโลกนี้และโลกหน้า ย่อมมีเฉพาะแก่เหล่าชนผู้ทำบุญไว้ ผู้ปรารถนาความเป็นสหายแห่งเทวดาชาวไตรทศเทพเหล่านั้น พึงทำบุญกุศลไว้ให้มาก เพราะว่า ผู้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมบันเทิงใจอยู่ในสวรรค์เพียบพร้อมไปด้วยโภคสมบัติ
บุพกรรมของพระพุทธเจ้าตอนที่ ๓
หมู่สัตว์ที่มาเกิดแล้วจำจะต้องตายในโลกนี้ ย่อมทำกรรมอันใดไว้ คือบุญและบาปทั้งสองประการ บุญและบาปนั้นแล เป็นสมบัติของเขา และเขาจะพาเอาบุญและบาปนั้นไป อนึ่ง บุญและบาปนั้นย่อมเป็นของติดตามเขาไปประดุจเงาติดตามตัวไปฉะนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลพึงทำกัลยาณกรรม สะสมไว้เป็นสมบัติในปรโลก ด้วยว่า บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในปรโลก