ผู้ขัดขวางการสร้างบารมี
ชนเหล่าใด จักสำรวมจิต ที่ท่องไปในที่ไกลๆ เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีสรีระ มีถ้ำเป็นที่อาศัย ชนเหล่านั้น จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร
อยู่ก็รัก จากก็คิดถึง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แบ่งปันลาภทั้งหลาย ที่ประกอบด้วยธรรมได้มาโดยธรรม แม้โดยที่สุดบิณฑบาต ย่อมบริโภคร่วมกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้มีศีล ภิกษุเป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง อนึ่ง ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นของประเสริฐ เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ ย่อมนำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำทิฏฐิอันนั้น มีอยู่ ภิกษุเป็นผู้ถึงความเสมอกันด้วยทิฏฐิในทิฏฐิเห็นปานนั้นกับเพื่อนสหพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรม ๖ ประการเหล่านี้แล เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม
ร่างกายของเรานี้ประกอบด้วยธาตุสี่ที่ไม่บริสุทธิ์จึงเสื่อมสลายตลอดเวลา ทำให้ต้องหา ธาตุสี่จากภายนอกมาเติมเข้าไปอยู่เรื่อย ๆ ไม่มีสิ้นสุด ดังที่เราต้องประกอบกรรมต่าง ๆ เพื่อการเติมธาตุสี่ แต่กายนั้นก็ทำกรรมตามที่ใจของเราเป็นตัวสั่งการ ส่วนของใจทำหน้าที่รู้และคิด ส่วนของกายพูดและทำ
ธรรมกาย ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทยุคต้น
“ธรรมกาย” เป็นคำที่คุ้นเคยกันดีในหมู่ชาวพุทธ แต่ความหมายของธรรมกายในใจของชาวพุทธแต่ละกลุ่มอาจไม่เหมือนกัน เมื่อความเข้าใจเรื่องธรรมกายในหมู่ชาวพุทธแตกต่างกันอย่างนี้ จึงน่าศึกษาว่า คำว่า “ธรรมกาย” ในคำสอนเก่าแก่ที่เก็บรักษาไว้โดยชาวพุทธในแต่ละท้องถิ่นนั้นเป็นอย่างไร....
พระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้า ตอนที่ 38 อชิตพราหมณ์ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในช่วงรุ่งอรุณ พระอชิตพราหมณ์บรมโพธิสัตว์ จักได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
กำหนดการวันลอยกระทง ณ วัดพระธรรมกาย (วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567)
ขอเชิญร่วมพิธีลอยกระทงธรรม และฉลองชัยสวดมนต์บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2567 (วันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12) ณ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี
เนมิราชชาดกบําเพ็ญอธิษฐานบารมี(7)
ทาน พวกพาลชนเมื่อให้ ก็ให้ได้ยาก กุศลธรรม พวกพาลชนเมื่อทำ ก็ทำได้ยาก พวกอสัตบุรุษย่อมไม่ทำตามสัตบุรุษ ธรรมของสัตบุรุษ พวกอสัตบุรุษดำเนินตามได้ยากแสนยาก เพราะฉะนั้น การไปจากโลกนี้ของพวกสัตบุรุษ และพวกอสัตบุรุษจึงต่างกัน พวกอสัตบุรุษย่อมไปสู่นรก พวกสัตบุรุษย่อมเป็นผู้ดำเนินไปสู่สวรรค์
ศีลภรตคืออะไร ต่างจากศีลห้าอย่างไร? - หลวงพ่อตอบปัญหา
ศีลภรตคืออะไร ต่างจากศีลห้าอย่างไร?,การรักษาศีลแปดคือการประพฤติพรหมจรรย์ ถ้ารักษาศีลข้อสามได้ดี ข้ออื่นเช่น ข้อหก เจ็ด แปด ไม่ต้องรักษาก็ได้ ใช่หรือไม่?,ทำไมต้องนั่งสมาธิ? สมาธิดีอย่างไร?
ภพสาม คุกใหญ่ของสรรพสัตว์
ชนทั้งหลายบางพวก ย่อมเข้าถึงครรภ์ ผู้ทำบาปอกุศล ย่อมเข้าถึงนรก ผู้สั่งสมความดีเป็นเหตุสุคติ ย่อมไปสู่สวรรค์ ผู้ไม่มีกิเลสอาสวะ ย่อมปรินิพพาน
วิธีตัดเหตุแห่งทุกข์
ตัณหาทำให้คนเกิด จิตของผู้มีตัณหาย่อมซัดส่ายไปมา หมู่สัตว์มัวท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของเขา