ฉัททันตชาดก ชาดกว่าด้วยพญาช้างฉัททันต์
“ พรานเอ๋ย นางผู้นั้น ละวางพยาบาทได้ก็ด้วยชีวิตเรา จงเลื่อยเอางาของเราไปเถิด ” การสิ้นกรรมในชาติภพนั้น พญาฉัททันต์ทนเจ็บปวดเป็นที่เวทนาการ จนเมื่อพรานนำงาคู่ไปถึงกาสิกกรัฐ แล้วพญาช้างก็ขาดใจตาย
ขทิรังคารชาดกว่าด้วยเป็นผู้มีจิตใจมั่นคง
ขทิรังคารชาดก เรื่องราวของเศรษฐีหนุ่มแห่งกรุงสาวัตถีผู้มีใจรักในการทำบุญสร้างทานบารมี เขาโดนขัดขวางการสร้างมหาทานบารมีครั้งใหญ่ในชีวิตโดยพญามาร แต่เขากลับเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการสร้างมหาทานครั้งนี้...มาติดตามกันว่า..เขาทำได้หรือไม่?
อนภิรติชาดก ชาดกว่าด้วยจิตขุ่นมัว ไม่ขุ่นมัว
ความสำเร็จในมรรคผล การบรรลุญาณสมาบัติของผู้ปฏิบัติกรรมฐานนั้น เกี่ยวข้องด้วยความสมถะสันโดษหลุดพ้นจากกิเลสอันอยากได้อยากมีเป็นอย่างยิ่ง ผู้ปฏิบัติภาวนา แม้สำเร็จญาณระดับใดแล้วก็ตาม แต่หากรับเอาอาสวะกิเลสเข้าจิตใจ แม้น้อยนิด ญาณวิเศษที่พากเพียรมา ก็จักเสื่อมลงถดถอยลงสิ้น
นังคลีสชาดก ชาดกว่าด้วยคนพาลกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว
“ มานพนี้ เมื่อกล่าวว่างูเหมือนงอนไถ่ ก็กล่าวถูกต้องก่อนแล้ว แม้กล่าวว่าช้างเองก็เหมือนงอนไถ ก็คงพอจะกล่าวได้ด้วยเล่ห์ที่หมายเอางวงช้าง แม้กล่าวว่าอ้อยเหมือนงอนไถ่ก็ยังพอเข้าท่า แต่นมส้มนมสด ขาวอยู่เป็นนิจ ทรงตัวอยู่ได้ด้วยภาชนะ ไม่น่าจะกล่าวอุปมาในข้อนี้ได้โดยประการทั้งปวงเลย เราไม่อาจให้คนเลื่อนเปื้อนผู้นี้ศึกษาได้อีกเสียแล้ว ”
สกุณีคติชาดก ชาดกว่าด้วยไม่หากินไกลถิ่น
เมื่อโผ่ขึ้นสูงได้ระดับ พญาเหยี่ยวก็ตีลังกาพุ่งดิ่งลงยังนกมูลไถบนพื้นดิน ยิ่งใกล้ก็ยิ่งทวีความเร็วมากขึ้น นกมูลเตรียมตัวพร้อมอยู่บนก้อนดินซึ่งมันคัดเลือกไว้ แล้วก็กระโดดหลบไปใต้ก้อนไถอย่างรวดเร็วตามธรรมชาติของมัน พญาเหยี่ยวนักล่าเมื่อยั้งไม่ทันก็ไถลเข้ากระแทกก้อนดินไถอันแหลมคมสุดแรงเกิด เลือดพุ่งทะลักออกจากร่างปักคาก้อนดินไถอย่างสิ้นฤทธิ์
อนุสาสิกชาดก ชาดกว่าด้วยเรื่องดีแต่พูด
ในนครสาวัตถี ยังมีภิกษุณีผู้ชอบพร่ำสอนอยู่รูปหนึ่ง มีนิสัยชอบสั่งสอนและมักห้ามภิกษุณีรูปอื่น ๆ มิให้เข้าไปในที่หวงห้าม แต่ตนเองก็มิได้กระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี กลับละเมิดเข้าไปในที่หวงห้ามเสียเอง
เสยยชาดก ชาดกว่าด้วยคบคนประเสริฐก็ประเสริฐ
เมื่ออำมาตย์ผู้หนึ่งได้มีโอกาสไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระพุทธองค์จึงตรัสถามถึงเรื่องการถูกใส่ร้ายจนต้องราชทัณฑ์ “ แม้หม่อมฉัน จะถูกจองจำใส่โซ่ตรวน แต่สิ่งนี้กลับทำให้หม่อมฉันได้รับประโยชน์ คือได้โอกาสปฏิบัติธรรม จนได้เห็นดวงตาแห่งธรรมพะยะค่ะ ”
มสกชาดก ชาดกว่าด้วยมีศัตรูผู้มีปัญญาดีกว่ามีมิตรโง่
อันชื่อว่ามนุษย์ย่อมมีทั้งดีและร้าย เมื่อมีคนที่ทำกรรมดีก็มีคนที่ทำกรรมชั่วเช่นกัน ครั้งหนึ่งเมื่อพระบรมศาสดาเสด็จจาริกไปในหมู่ชนชาวมคธได้เกิดเรื่อพิสดารขึ้น
สมิทธิชาดก ชาดกว่าด้วยการไม่รู้เวลาตาย
ท่านภิกษุท่านยังเด็กเยาว์วัยหนุ่มแน่น มีผมดำ ประกอบด้วยความหนุ่ม ทั้งยังเจริญ มีรูปงามน่าดู น่าเลื่อมใส ท่านเป็นเช่นนี้ ไม่บริโภคกาม ประโยชน์อะไรด้วยการบรรพชา จงบริโคกามเสียก่อนเถิด ภายหลังจึงค่อยบวชบำเพ็ญสมณะธรรม ” “ แน่ะ เทพธิดา เราไม่รู้ความตายของเราว่า เราจักตายเมื่ออยู่ในวันโน้น เรากำหนดเวลาไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราจักบำเพ็ญสมณะธรรม ในตอนยังเป็นหนุ่ม แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ ” “ ถ้าอย่างนั้น ก็แล้วแต่ท่านเถิด ข้าขอลาก่อน ”
มหธัมมปาลชาดก ชาดกว่าด้วยตระกูลที่ไม่ตายวัยหนุ่ม
“ มหาบพิตรในบัดนี้พระองค์จะทรงเชื่อได้อย่างไร แม้ในครั้งก่อน ครั้งหม่อมฉันเกิดเป็นมหธัมมปาลกุมาร เมื่ออาจารย์ทิศาปาโกเอากระดูกแพะมาแสดง บอกว่าบุตรของท่านตายเสียแล้ว นี่กระดูกบุตรของท่าน พระองค์ก็มิได้ทรงเชื่อ กล่าวกับอาจารย์ว่า ในตระกูลของเรานี้จักตายตอนกำลังหนุ่มนั้นเป็นไม่มี ก็เหตุไรในบัดนี้ พระองค์จักทรงเชื่อเล่า ”