การพัฒนาบุคคลากรด้วยปัญญา 3 ฐาน
ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ได้เสนอวิธีการพัฒนาบุคลากรด้วยหลักปัญญา 3 ฐาน คือ ฐานกาย ฐานใจ ฐานความคิด ซึ่งแท้จริงแล้วนำมาจากหลักในพระพุทธศาสนานั่นเอง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ในเชิงบริหารนั่นเอง
ตักกบัณฑิตชาดก-ชาดกว่าด้วยการข้องแวะกับกิเลสคือบ่อเกิดแห่งทุกข์
พระชาติหนึ่งของพระพุทธองค์บังเกิดขึ้นในที่พักสงฆ์ พระอารามเชตวัน กรุงสาวัตถี ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งเมื่อออกบิณฑบาตได้พบกับสตรีผู้เลอโฉมเข้าในเช้าวันหนึ่งเนื่องจากภิกษุรูปนี้ยังมีพรรษาในเพศบรรพชิตไม่มากนักทำให้ไม่สามารถละกิเลสได้โดยเกิดความต้องจิตพิศมัยในความงามของสตรีนางนั้น
มหากัณหชาดก-ชาดกว่าด้วยคราวที่สุนัขดำกินคน
ตั้งแต่พระพุทธศาสดาทรงตรัสรู้บรรลุสัมโพธิญาณ แสดงพระธัมมจักกัปวัตนสูตรแก่พระปัญจวัคคีย์ แสดงอาทิตตปริยายสูตรโปรดชฏิล 3 พี่น้อง โปรดองคุลิมาล คนบาปจนตั้งอยู่ในอรหัตผล เสด็จโปรดเหล่าเทวดา 80 โกฏิจนบรรลุธรรม
กิงฉันทชาดก ชาดกว่าด้วยโทษที่ฉกฉวยเอาประโยชน์ของคนอื่น
ในความยาวนานเป็นอสงไขยแห่งห้วงอนันตจักรวาลนี้ ทุกชีวิตล้วนเคยเกิดและตายมานับครั้งไม่ถ้วนจนกระดูกของคนนับได้ว่ากองเท่าภูเขาและสูงใหญ่ได้เท่ากับผู้อยู่ใกล้ตัวที่ต้องร่วมกรรมต้องกันมาทุกชาติทุกชีวิต มีความเป็นไปเช่นนี้เหมือนกันหมด
อลีนจิตตชาดก ชาดกว่าด้วยกัลยาณมิตร
ณ นครสาวัตถีมีภิกษุรูปหนึ่งเมื่อบวชแล้วก็ไม่สามารถบรรลุในพระธรรมได้สักที ภิกษุรูปนี้หมดความหวัง ละความเพียรที่จะปฏิบัติธรรมอีกต่อไป
กัฏฐหาริชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษแห่งการแบ่งชนชั้น
ณ ถิ่นกำเนิดพระพุทธศาสนานั้นยังมีการถือชนชั้นกีดกันวรรณะกันอย่างรุนแรงแม้แต่ในหมู่พระประยูรญาติขององค์พระพุทธศาสดาเอง อุษาสางวาระหนึ่งเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอดส่องพระญาณก็ทรงพบว่า ความทุกข์เวทจากวรรณะได้เกิดกับพระญาติแห่งศากยวงศ์
โมรณัจจชาดก-ชาดกว่าด้วยผู้ขาดหิริโอตัปปะ
ครั้นเมื่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธรัฐแล้ว ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จจากนครราชคฤห์ อันมีฉายาว่าเบญจคีรี ที่มีภูเขาทั้ง 5 เป็นปราการมาประทับยังนครสาวัตถีในแคว้นโกศลนั้น แสงธรรมจากพระพุทธองค์ก็ส่องรัศมีกระจ่างไปทั่วแผ่นดินอนุทวีป
วัฏฏกาชาดกว่าด้วยอำนาจแห่งการตั้งสัตยาธิษฐาน
วัฏฏกาชาดก เป็นเรื่องของการอธิษฐาน อธิษฐานจิตอย่างไรให้ถูกต้องและเป็นจริงได้ หลักการอธิษฐานขึ้นอยู่กับคุณภาพของจิต เราควรยังจิตนึกถึงคุณของพระรัตนตรัย ทบทวนศีล 5 ให้บริสุทธิ์ จำเป็นหรือไม่?!!
เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา
“ดูก่อนภิกษุในศาสนาของเรานี้ ล้วนสรรเสริญคุณของความเป็นผู้มักน้อย สันโดษ รักสงบ เพียรผลาญกิเลสให้สิ้นไปมิใช่หรือ? แล้วทำไมท่านกลับถึงทำสิ่งไม่ควรเช่นนี้เล่า” พระภิกษุเจ้าสำรวย ได้ฟังคำพระพุทธเจ้าแล้ว แทนที่จะสำนึกผิดกลับบันดาลโทสะ ประชดประชัน ทำสิ่งมิควรอีก
กุกกุรชาดก-ชาดกว่าด้วยการสงเคราะห์ญาติ
ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาลพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายนั่งสนทนากันอยู่ ณ เชตะวันมหาวิหาร ถึงเรื่องที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงช่วยให้พระประยูรญาติจำนวนมากได้บรรลุธรรมถึงความพ้นทุกข์ และในจำนวนนั้นมีพระประยูรญาติหลายพระองค์ได้มาเป็นกำลังใจในการเผยแพร่แผ่พระพุทธศาสนา