ปราสาทคือปัญญา
ความประมาทนั้นสามารถบรรเทาได้ด้วยความไม่ประมาท คือค่อยๆ ถ่ายถอนความประมาทออกทีละน้อย แล้วเพิ่มพูนความไม่ประมาทเข้าไปแทนที่ เหมือนถ่ายเทน้ำเก่าอันขุ่นออกแล้วใส่น้ำใหม่ที่ใสสะอาดเข้าไป พยายามรักษาความไม่ประมาทที่ทำได้แล้วมิให้เสื่อมลงไปอีก กีดกันความประมาทที่ห่างไปแล้วมิให้เข้ามาอีก ดวงใจที่ห่างจากความประมาท อยู่ด้วยความไม่ประมาท มีสติระวังรอบคอบ ย่อมก่อให้เกิดปัญญา ปัญญานั้นว่องไว คล่องแคล่ว ปัญญานั้นสูงส่งดุจปราสาท กล่าวคือ ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ สามารถเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้เคลื่อนจากภพอยู่ (จุติ) และเกิดอยู่ (ปฏิสนธิ) เหมือนคนยืนอยู่บนปราสาท มองลงมาเห็นคนยืนอยู่เบื้องล่างรอบๆ ปราสาท อนึ่ง เมื่อคนทั้งหลายเศร้าโศกอยู่ เพราะพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักบ้าง เพราะพบกับความเสื่อมจากญาติจากโภคะบ้าง เพราะประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักบ้าง บัณฑิตย่อมไม่เศร้าโศก เพราะได้มองเห็นความจริงเสียแล้ว มองเห็นความสุขและความทุกข์อย่างโลกๆ โดยความเป็นของเสมอกันคือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีตัวตน มีแต่กระแสอันไหลเชี่ยวแห่งกลุ่มธรรมอันหนึ่ง นักปราชญ์เช่นนั้นย่อมมองเห็นคนพาลเป็นผู้น่าสังเวช สงสารเหมือนผู้ยืนอยู่บนภูเขามองเห็นคนยืนอยู่ที่เชิงเขา
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - บัณฑิตที่แท้จริง
ธรรมดาบัณฑิต เห็นคนไขน้ำเข้านา เห็นช่างศรดัดลูกศร ให้ตรง เห็นช่างถากไม้แล้ว ย่อมถือเอาเหตุนั้นเป็นอารมณ์ มีปัญญารู้แจ้งแทงตลอดในอรหัตตผลได้ เหมือนเรื่องบัณฑิตสามเณร
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - บัณฑิตผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์
ในขณะนั้นเอง ดวงตาเห็นธรรมได้บังเกิดขึ้นกับท่านอชิตะ และท่านได้ทูลถามถึงข้อควรปฏิบัติ โดยกล่าวถามอย่างชาญฉลาดว่า "ชนผู้ได้เห็นธรรมแล้ว และชนผู้ยังต้องศึกษาอยู่ สองพวกนี้มีอยู่ในโลกเป็นอันมาก พระองค์มีปัญญาแก่กล้า ขอทรงโปรดตรัสบอกวิธีการปฏิบัติแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด"
คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว
การคบคนดีเป็นศรีแก่ตัว แต่ทั้งๆ ที่รู้อย่างนี้คนที่ขาดปัญญาและขาดสติก็ยังหลงไปคบกับคนที่เลวคนที่สังคมรังเกียจอยู่ดี โดยหารู้ไม่ว่านั่นคือทางหายนะของตน
ศศินา วิมุตตานนท์ "เติมบุญด้วยการสวดมนต์ทุกวัน"
ศศินา บอกด้วยว่า โดยส่วนตัวแล้วเป็นคนเชื่อในเรื่องของวิบากกรรม เนื่องจากถ้าเราได้ดูคนทุกระดับชั้น ใช่ว่าทุกคนจะมีแต่ความสุข หรือใช่ว่าทุกคนจะมีแต่ความทุกข์ ภาพรวมแล้วทุกคนจะมีสุขทุกข์ปะปนกันไป หากถามว่าความสุขหรือทุกข์นั้นเกิดมาจากอะไร ตรงนี้ก็ต้องมีเหตุทำให้เขาสุข และทุกข์ก็มีเหตุทำให้เขาทุกข์ ถ้าเราได้ศึกษาพระไตรปิฎกหรือธรรมะมากขึ้น จะรู้ทันทีว่า เราเกิดมาพิการแบบนี้เป็นเพราะวิบากกรรมที่เราทำอะไรไม่ดีไว้ หรือเราเกิดมามีหน้าตาผิวพรรณผ่องใส เพราะว่าเราทำอะไรมา
พระทศพลญาณ
มนุษย์ส่วนใหญ่ต่างเสาะแสวงหาความรู้ต่างๆ เพียงเพื่อให้รู้วิธีการประกอบอาชีพ ที่จะนำมาซึ่งปัจจัยสี่สำหรับหล่อเลี้ยงร่างกาย ให้ดำรงอยู่ในโลกนี้อย่าง
บัณฑิตควรตักเตือนกัน
คนเราควรเตือนสติกัน ควรแนะนำกัน และควรห้ามปรามกันจากอกุศลกรรม คนที่ทำเช่นนั้น ย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี
ส่องธรรม ล้ำภาษิต : ผู้เตือน - ผู้ถูกเตือน
ผู้เตือนเตือนจนผู้ถูกเตือนกลัว ผู้ถูกเตือนมีปฏิกิริยาจนผู้เตือนไม่กล้าเตือน
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - ปัญญาพิชิตปัญหา
พระโพธิสัตว์ได้ใช้สติปัญญา แก้ข้อครหาของอำมาตย์ทั้ง ๕ คน เช่น เรียกให้อุจเฉทวาทีอำมาตย์เข้ามา พลางกล่าวว่า "ท่าน กล่าวว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล และยังสำคัญว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมขาดสูญในโลกนี้เท่านั้น สัตว์ผู้ไปสู่ปรโลกไม่มีเลย แล้วมาหัวเราะเยาะเราทำไม"
ตอนนั่งสมาธิทำไมจิตใจมักคิดถึงแต่เรื่องไม่ดี
เราเคยสะสมความคิดไม่ดีมาก่อน พอใจสงบเข้า ก็เหมือนกรอฟิล์มภาพยนตร์ย้อนกลับ ของไม่ดีผุดขึ้นมาเหมือนคุ้ยกองขยะ พอเราทำสมาธิก็เหมือนเราโกยขยะให้หลุดออกไปจากใจ