สุวรรณกักกฏชาดก ชาดกว่าด้วยปูทองผู้ฉลาด
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการ เสียสละชีพของพระอานนทเถระเพื่อพระองค์ ดังนี้แล้วพระองค์จึงทรงนำเรื่องในอดีตมาสาทกดังต่อไปนี้...กาลครั้งหนึ่งนานพระโพธิ์สัตว์เกิดเป็นพราหมณ์ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีอาชีพกสิกรรม
วลาหกัสสชาดก ชาดกว่าด้วยความสวัสดี
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาผู้ใดไม่ทำตามคำสั่งสอน ที่เราตถาคต แสดงไว้ดีแล้ว ผู้นั้นย่อมจะต้องถึงความพินาศ ย่อมถึงความทุกข์ใหญ่ในอบาย ๔ (คือได้นรก ดิรัจฉาน เปรต อสุรกาย) เปรียบเสมือนพวกพ่อค้า ที่ถูกนางยักษิณี หลอกลวงให้ตกอยู่ในอำนาจ ต้องสิ้นชีวิตไป ฉะนั้น
สุขวิหารีชาดก ชาดกว่าด้วยสุขอันเกิดจากการบรรพชา
สมเด็จพระภัททิยะตัดสินพระทัยออกผนวชในพระพุทธศาสนา ได้บำเพ็ญเพียรจนหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ เดินทางภิกขาจารไปทุกหนทุกแห่งโดยลำพัง พระองค์ได้พบกับความสุขอย่างแท้จริง ด้วยไม่ข้องอยู่กับอิสริยยศและอันตราย จึงเปล่งอุทานขึ้นว่า “ เฮ้อ สุขจริงหนอ สุขจริง ”
ฌานโสธนชาดก ชาดกว่าด้วยสุขเกิดจากสมาบัติ
ในสมัยพุทธกาลเมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรงปรารภการที่พระสารีบุตรสามารถพยากรณ์ปัญหาที่พระองค์ตรัสถามโดยย่อได้อย่างพิศดาร ณ ประตูสังกัสนคร
กุมมาสปิณฑชาดก ชาดกว่าด้วยอานิสงส์ถวายขนมกุมมาส
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยในการแย้มสรวลของพระองค์ ” “ ดูกร อานนท์ กุมาริกาผู้นี้จักได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าโกศลในวันนี้ทีเดียว เพราะผลแห่งการถวายก้อนขนมกุมมาสเหล่านี้ ”
อาวาริยชาดก ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล
ฤาษีได้ให้โอวาทคนแจวเรือ ซึ่งเป็นคนที่โง่เขลา มีนิสัยดุร้าย ขี้โกง " ขอให้ท่านจงอย่าคิดเคืองโกรธไม่ว่าจะในที่ใด ๆ ทั้งในบ้าน ในป่า ความร่ำรวยในทรัพย์ก็จะมีแก่โยม นี่แหละของดีที่อาตมาจะให้ ” “ อะไรกันท่านฤาษี นี่หรือคือค่าจ้างเรือที่ท่านจะให้ผมหน่ะ ” “ ใช่แล้วล่ะโยม ” “ ไม่ได้ ข้าไม่ยอม เอาของดีของท่านเก็บไว้ใช้กับตัวเถิด ค่าจ้างของข้า ต้องเป็นเงินเพียงอย่างเดียว เอาเงินมาให้ข้า ข้าต้องการเงินเท่านั้น ” ว่าแล้วคนแจวเรือก็ได้ทำการตบตี ทำร้ายฤาษีในทันที
กูฏวาณิชชาดก ชาดกว่าด้วยหนามยอกเอาหนามบ่ง
นายบัณฑิตนั้นไม่ใช่คนโง่ เขาสังเกตเห็นพิรุจหลายอย่างจึงคิดพิสูจน์ว่ารุกขเทวดาที่ต้นไม้นั้นมีอยู่จริงหรือไม่ “ สหายจะให้เราเชื่อเช่นนั้นก็ได้ แต่เราขอพิสูจน์ให้แน่ใจก่อนนะ ” นายบัณฑิตได้เดินไปเก็บฟืนแล้วนำกองไว้ที่โคนต้นไม้ จุดไฟเผาในโพรงไม้นั้น “….เดี๋ยวเถอะจะได้รู้กันว่าเทวดาจริงหรือเทวดาปลอมกันแน่...”
กุกกุฏชาดก ชาดกว่าด้วยว่าด้วยผลของการไม่เชื่อง่าย
นางแมวเดินย่องเข้าไปใต้กิ่งไม้ที่พญาไก่ป่าเกาะอยู่ มันพยายามพูดหลอกล่อให้ไก่ป่าตายใจไม่ทันได้ระวังตัวแล้วจะตะครุบกินเป็นอาหาร “ พ่อไก่ผู้สง่างาม ผู้มีขนสีแดงเป็นประกาย เจ้าลงมาจากกิ่งไม้เถอะ เรามีเรื่องจะพูดคุยกับท่าน ”
กาสาวชาดก ชาดกว่าด้วยผ้ากาสาวพัสตร์
พญาช้างอยากลงโทษให้พรานชั่วให้ตายตกไปตามชีวิตบริวารของตน แต่เห็นแก่ผ้าเหลืองกาสาวพัสตร์ในพระพุทธศาสนา จึงลงโทษสถานเบาให้เข็ดหลาบ แล้วปล่อยให้พรานออกจากป่าโดยให้พรานตั้งสัตย์ปฏิญาณว่าจะเลิกฆ่าสัตว์ตัดชีวิตและตั้งอยู่ในศีลธรรม อันดีตลอดไป
โกกาลิกชาดก ชาดกว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด
พระอัครสาวกและพระโกกาลิกะพร้อมด้วยภิกษุ 1,000 รูป ติดตามไปเยี่ยมชาวบ้านในหมู่บ้าน พวกอุบาสกเหล่านั้นพากันต้อนรับด้วยเภสัชและเครื่องนุ่งห่มแต่ก็ไม่ได้ถวายแก่พระโกกาลิกะอีก จึงทำให้ท่านถึงกับทนไม่ไหว ด่าตัดพ้อพระเถระทันที “ พวกท่านนี่ เป็นตัวขัดลาภข้าจริง ๆ ทำไมชาวบ้านถวายสิ่งของแก่พวกท่านกลับไม่ถวายเจ้าอาวาสอย่างข้า ”