ได้ลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ - พุทธประวัติ
พุทธประวัติ พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน
ธุดงค์ เป็นวัตร แต่ไม่เป็นศีล
“ธุดงค์” เป็นวัตรไม่ใช่ศีล เป็นข้อแนะนำให้ปฏิบัติเพื่อฝึกตัว ไม่ใช่ข้อบังคับว่าต้องทำ แบ่งเป็น 3 หมวด คือ จีวร อาหาร และ สถานที่
ชวนต่างชาติให้สนใจ ทาน ศีล ภาวนา
ตัวลูกเป็นชาวต่างชาติ เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา อยากให้ญาติมิตรหันมาสนใจเรื่อง การรักษาศีล เจริญภาวนา จะต้องทำอย่างไรคะ ?
คณะสงฆ์ และภาคีเครือข่าย โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ทั่วประเทศ เจริญพระพุทธมนต์ - บำเพ็ญจิตตภาวนา แด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ
คณะสงฆ์ - พุทธศาสนิกชน ภาคีเครือข่ายโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ทั่วประเทศ เจริญพระพุทธมนต์ - บำเพ็ญจิตตภาวนา ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ให้ทรงหายจากพระอาการประชวรในเร็ววัน
คุณเตี่ยอดีตนายอำเภอ
หมู่บ้านลึกลับ...กลางคืนเห็น กลางวันหาย
หญิงคนหนึ่งเดินทางไปธุระต่างจังหวัด กับคนขับรถ …ปรากฏว่า อยู่ๆรถก็เกิดเสียกลางดึก บริเวณทางแยกเข้าหมู่บ้าน ข้างทางมีบ้านไม้หลายหลังตั้งเรียงรายตลอดแนวถนนทั้ง 2 ฝั่ง…เด็กหนุ่มคนหนึ่ง อาสาพาคนขับรถ นำแบตเตอรี่ไปชาร์ต จนสามารถเดินทางต่อไปได้จนถึงที่หมาย …วันรุ่งขึ้น ขากลับ เธอตั้งใจแวะที่เดิมเพื่อนำของฝากไปขอบคุณเด็กหนุ่มคนนั้น แต่ปรากฏว่า ไม่มีหมู่บ้านอย่างที่เคยเห็น …
กฐินทาน กาลทานที่มีผลานิสงส์มาก
คำสอนในพระพุทธศาสนากล่าวว่า “ทาน” หรือ “การให้” เป็นความดีที่เป็นสัมมาทิฐิเบื้องต้นของมนุษย์ทุกคน เพราะทั้งการให้ การแบ่งปัน หรือการสงเคราะห์ ล้วนเป็นคุณธรรมที่เกื้อกูลกันระหว่างชีวิตต่อชีวิต เป็นพื้นฐานความดีที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป ดังเช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในครั้งยังสร้างบารมี กว่าพระองค์จะทรงประสบความสำเร็จขั้นสูงสุดในชีวิต คือการตรัสรู้ธรรม พระองค์ก็ทรงอาศัยการทำทานเป็นจุดเริ่มต้นของการสั่งสมความดี
คณะสงฆ์ จ.ฉะเชิงเทรา จับมือภาครัฐ-เอกชน ขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข
คณะสงฆ์จังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมกับภาครัฐ-เอกชน ขับเคลื่อน 10 วัดต้นแบบประจำอำเภอ โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข สร้างสัปปายะสู่วัดด้วยวิถี 5 ส
สังคหวัตถุ-4-หลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
ท่านทั้งหลายทราบหรือไม่ว่า การที่เรามาอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นต้องปฏิบัติตนอย่างไร จึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านทรงได้ให้หลักธรรมในการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างเป็นสุขคือ สังคหวัตถุ 4 ซึ่งประกอบด้วยหลักธรรม 4 ข้อ ได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และ สมานัตตา โดยมีรายละเอียดแต่ละข้อดังนี้
รัตนชาติและพระรัตนตรัย
ดูก่อนปหาราทะ มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะในมหาสมุทรนั้น คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต ฉันใดก็ฉันนั้น ดูก่อนปหาราทะ ธรรมวินัยนี้ก็มีรัตนะมากมายหลายชนิดเหมือนกัน รัตนะในธรรมวินัย คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมากมายหลายชนิดนี้ เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายได้เห็นแล้ว จึงอภิรมย์ยินดียิ่งในศาสนานี้อยู่