ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 110
เมื่อ ได้ทราบถึงสิ่งของอันเป็นที่ต้องพระทัยของพระราชาทั้ง ๑๐๑ พระองค์แล้ว มโหสถบัณฑิตจึงได้มอบหมายให้ช่างวังหลวงทำเครื่องราชูปโภคต่างๆขึ้นมา เป็นกุณฑลบ้าง ฉลองพระบาทบ้าง พระขรรค์บ้าง สุวรรณมาลาบ้าง ตามแต่พระราชาเหล่านั้นจะทรงโปรดปราน
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 109
มโหสถบัณฑิตก็ยังมิได้นิ่งนอนใจ ดำริอยู่ในใจว่า “ฐานะ ของเราในยามนี้เท่ากับเป็นผู้พิทักษ์พระเศวตฉัตรของพระราชา ฉะนั้นเราจะมัวเมาประมาทอยู่มิได้เลย ควรจะเร่งทำนุบำรุงแว่นแคว้นให้มั่นคงเป็นปึกแผ่น เพื่อให้วิเทหรัฐทวีความยิ่งใหญ่เกรียงไกรอย่างที่ไม่มีแว่นแคว้นใดเสมอ เหมือน”
มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน - พระทัพพมัลลบุตร (๔)
แม้ท่านเป็นพระอรหันต์ ก็ยังถูกฆราวาสกล่าวหา นับประสาอะไรกับพวกเรา ซึ่งเป็นคนเดินดินธรรมดา มีหรือที่จะพ้นคนครหานินทา แต่หน้าที่ของเรา จะต้องตั้งสติทำใจให้หนักแน่น และสร้างความดีกันต่อไป และอีกอย่างหนึ่งที่พวกเราควรตระหนักคือ เป็นคฤหัสถ์ไม่ควรไปกล่าวร้ายพระสงฆ์ผู้ทรงศีล มันจะเป็นบาปติดตัวไป สนุกปากแต่ลำบากเรา
มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน - อ่อนน้อมถ่อมตน
ผู้ที่จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ได้รับการ ยกย่องนับถือจากผู้อื่นด้วยความจริงใจนั้น จะต้องเป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ถ้าขาดคุณธรรมข้อนี้แล้ว แม้จะได้รับยศตำแหน่งก็จะอยู่ได้ไม่นาน เพราะการเป็นคนแข็งกระด้าง อวดดื้อถือดีดูถูกดูหมิ่นคนอื่น เป็นผลเสียอย่างใหญ่หลวง ทั้งต่อตนเองและหมู่คณะ โดยที่บุคคลนั้นก็คาดไม่ถึงว่า จะมีโทษมากถึงเพียงนั้น
มงคลที่ ๒๒ มีความเคารพ - ขาดความเคารพ พบความพินาศ
วันหนึ่ง ลูกสาวของช่างทอหูกออกจากบ้านไปเก็บดอกบัวที่สระน้ำ เก็บดอกบัวไปพลาง ร้องเพลงไปพลาง สามเณรเหาะไปใกล้บริเวณสระบัวแห่งนั้น เกิดติดใจเสียงขับร้องของนาง กามราคะที่ข่มไว้ด้วยอำนาจฌานสมาบัติก็ฟูขึ้นท่วมทับจิตใจ ทันใดนั้นเอง ฤทธิ์ของสามเณรก็เสื่อม ไม่อาจเหาะได้ ดุจกาปีกหัก
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - อย่ามัวประมาทอยู่เลย
นางยักษิณีคิดว่า บุรุษนี้มีใจเข้มแข็ง เราจะต้องจับกินให้ได้ นางเดินตามหลังพระโพธิสัตว์ไปเรื่อยๆ จนถึงปากทางออกจากป่าใหญ่ พบพวกคนหาของป่า คนเหล่านั้นกล่าวกับพระโพธิสัตว์ว่า กุมาริกาที่เดินตามหลังท่าน น่ารักน่าทะนุถนอมเหมือนพวงดอกไม้งาม ผิวพรรณก็งามเหมือนดั่งทอง เหตุใดท่านจึงปล่อยให้นางลำบาก ไม่จูงนางไปด้วยเล่า พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พ่อคุณ ทั้งหลาย นั่นไม่ใช่ภรรยาของเรา แต่เป็นยักษิณี คนของเรา ๕ คน ถูกมันจับกินไปหมดแล้ว
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - เลิกตระหนี่ตลอดไป (๑)
บุญเป็นบ่อเกิดแห่งความสุขและความสำเร็จในชีวิต ถ้ามีบุญน้อย อุปสรรคก็มาก ถ้ามีบุญมาก อุปสรรคก็น้อย บุญเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตของพวกเราที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด สร้างบารมีเพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง คือ ที่สุดแห่งทุกข์ ที่สุดแห่งธรรม
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ยิ่งให้สมบัติใหญ่ยิ่งไหลมา
เมื่อให้ทาน สละทรัพย์ออกจากใจ ความตระหนี่ซึ่งเป็นวิบัติก็หลุดร่อนออกไปด้วย เมื่อวิบัติหลุดออกไป สิริสมบัติก็หลั่งไหลเข้ามาแทน บุญที่เกิดจากการให้ทานและเอาชนะความตระหนี่ในใจได้นี้ ไปดึงดูดสมบัติใหญ่มา ทำให้ได้สมปรารถนาในสิ่งที่ต้องการ ได้ทั้งโลกิยทรัพย์และอริยทรัพย์ ดังเรื่องของหญิงชราท่านหนึ่ง ที่ตัดใจให้ทานเอาชนะใจตนเองได้ โดยสละทรัพย์ที่หามาด้วยความยากลำบากออกให้ทาน
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ทำบุญก่อนได้ก่อน
หากเราปรารถนาความสุขความสำเร็จ เพื่อส่งผลให้เราไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เราต้องรู้จักวิธีที่จะให้ได้สิ่งเหล่านั้นก่อน วิธีการนั้น พระบรมศาสดาท่านแนะนำให้สั่งสมบุญ เพราะหากเรายังไม่เข้าถึงพระธรรมกายภายใน ยังมองไม่เห็นบุญ แม้จะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่สัมผัสได้ด้วยใจ บุญเป็นธาตุสำเร็จที่คอยอำนวยสิ่งที่ดีงาม ดลบันดาลความสุขความสำเร็จในชีวิตให้บังเกิดขึ้น
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ให้บ่อยๆ รวยบ่อยๆ
ยาจกยังต้องขอบ่อยๆ ถ้าไม่ขอก็อด คำว่ายาจกคือคนขอทาน จะแตกต่างจากคำว่า สมณะ ซึ่งเป็นการขอแบบอริยะ ที่เป็นเนื้อนาบุญแก่ผู้ให้ทาน บุคคลสองประเภทนี้มีข้อวัตรปฏิบัติที่แตกต่างกันราวฟ้ากับดิน คุณธรรมก็ต่างกันเหมือน ก้อนกรวดเทียบกับภูเขา พวกยาจกจะขอด้วยการแสดงอาการอัน น่าสงสาร